มีตึกแถวให้เช่า สรรพากรจะรู้ได้อย่างไร ว่าเรามีรายได้ 🏡🏠


ว่าเรามีรายได้จากการให้เช่า 



1. นาย ก ทำธุรกิจให้เช่าตึกแถว ผู้เช่าต้องการใช้ที่ตั้งเป็น สถานที่จดบริษัทและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่กรมสรรพากร
สามารถทำหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ได้หรือไม่
โดยไม่ต้องแนบสัญญาเช่าให้กรมสรรพากร


2. สรรพากรจะรู้หรือไม่ว่าเรามีรายได้ จากการให้เช่าเพราะเราไม่ได้แนบสัญญาเช่า


> กรณีไม่จด Vat / DBD ไม่ขอหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ ไม่ขอสัญญาเช่า
> กรณีจด Vat พี่สรร จะขอสัญญาเช่า เพื่อเป็นหลักฐาน ซึ่งสัญญาเช่านั้น จะต้องติดอากรณ์แสตมป์ ภายใน 15 วันนับจากวันทำสัญญา

**ปิดอากรหลัง 15 วัน แต่ไม่เกิน 90 วัน เสีย 2 เท่า
**เกิน 90 วัน เสีย 5 เท่า


>คิดง่ายๆ เสียอัตรา 0.1% ของค่าเช่าตลอดอายุสัญญา (ถ้าไม่กำหนดให้ถือว่ามีระยะเวลา 3 ปี และถ้าครบกำหนดแล้วยังให้เช่าต่อไปถือว่าทำสัญญากันใหม่และต้องเสียอากรสำหรับสัญญาดังกล่าว ภายใน 30 วัน)
> ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ให้เช่า
>ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เช่า
แต่…ส่วนใหญ่ผู้ให้เช่ามักจะระบุเงื่อนไขการรับภาระภาษีต่างๆ ให้กับผู้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบทั้งสิ้น!!


รายได้ค่าเช่า
กรณี ผู้เช่าเป็นบุคคล —> พี่สรรอาจจะตรวจเจอยากหน่อย เนื่องจาก ไม่มีการหักภาษี ณที่จ่าย
กรณี ผู้เช่าเป็นนิติบุคคล—-> ผู้เช่าจะขอหัก ภาษี ณที่จ่าย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร ( เป็นหน้าที่ของผู้เช่าที่มีหน้าที่ หัก ภาษีนำส่ง)
เช่นค่าเช่า 10,000 หักภาษีไว้ 500 (5%)
จ่ายผู้ให้เช่าเพียง 9,500.-

เพื่อหลบเลี่ยงรายได้ แต่ก็ต้องเช่าเค้าอะ ทำยังไงได้ ก็ต้องแก้ปัญหาของผู้เช่าเอง



งานงอกเลย ถ้าปล่อยเช่า ถือเป็นการจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญนี้
มีหน้าที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
โดยแยกออกมาต่างหากจากตัวบุคคล
ดังนั้น การหักภาษี ณ ที่จ่าย
ต้องหักในชื่อของห้างหุ้นส่วนสามัญนะคะ
กรณี ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีรายได้
แล้วยื่นภาษีเรียบร้อยแล้วนั้น
หากมีการแบ่ง “กำไร” ให้หุ้นส่วน
จะต้องมีการเสียภาษีเงินได้อีกรอบหนึ่ง

เสียภาษีในนาม “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” ร่วมกันแล้ว
ถ้าตัดสินใจแบ่ง “ส่วนแบ่ง” ให้กับแต่ละคนเมื่อไร
“คนสองคน” ต้องเอาส่วนแบ่งไปเสียภาษีอีกที
โดยเสียในชื่อของตัวเองอีกรอบหนึ่ง



ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอะไร ควรศึกษาเรื่องภาษีให้ดีนะคะ เพราะภาษีย้อนหลังไม่ใช่เรื่องตลก

