Blog

326157652_3520926128227904_2275392200286013974_n

ผู้รับจ้างหลบภาษี ผู้จ้างควรทำอย่างไรดี

🧐 เรื่องนี้คิดว่า แทบทุกบริษัทจะต้องเจอ คือการจ่ายเงินให้กับบุคคลธรรมดา และเค้าก็หลบรายได้ ไม่ ยากจะเสียภาษี 😢
❌ ไม่ให้สำเนาบัตรประชาชน
❌ ไม่รับเงินโอน
👉เมื่อผู้รับเงินหลบเลี่ยง การรับรู้รายได้
ส่งผลกระทบให้บริษัทฯ ไม่สามารถนำรายจ่ายนั้น
มาลงเป็นรายจ่ายทางภาษีได้อย่างถูกต้อง บางครั้งยังส่งผลให้ผู้ว่าจ้างหลบรายได้ต่อด้วย เพราะไม่มีต้นทุน มาหักออก เนื่องจากกังวลว่าจะทำให้บริษัทเสียภาษีสูงนั่นเอง
.
.
.
ครูแบ่งออกเป็น 2 กรณีนะคะ
📍กรณีที่ 1 บริษัทซื้อสินค้าจากนาย ก
การซื้อสินค้าจากบุคคลธรรมดา ไม่ต้องหักภาษี ณที่จ่าย บริษัทฯสามารถทำเอกสารดังนี้ เพื่อนำมาเป็นรายจ่ายของบริษัทได้อย่างถูกต้อง 💜
⁃ สำเนาบัตร ปชช ผู้ขาย และเซ็นรับเงิน
⁃ หลักฐานการโอนเงิน/สลิปการโอน
⁃ ถ่ายรูปสินค้า ว่าซื้อจริงแนบประกอบ
⁃ สรุปรายการสินค้าและจัดทำ Stock
** หากผู้รับเงิน ประสงค์รับเป็นเงินสด และไม่ให้บัตรประชาชน ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของพี่สรร ถึงความน่าเชื่อถือของเอกสาร
📍กรณีที่ 2 บริษัทฯ จ่ายค่าบริการให้นาย ก
เอกสารประกอบ
⁃ สำเนาบัตร ปชช ผู้ขาย และเซ็นรับเงิน
⁃ หลักฐานการโอนเงิน/สลิปการโอน
⁃ หนังสือรับรองการหัก ภาษี ณที่จ่าย
** ประเด็นปัญหาของกรณีที่ 2 คือ
❌ ผู้รับเงินไม่ยอมให้หัก ภาษี ณ ที่จ่าย แม้จะออกให้แทนก็ตาม ฉันไม่ยอมมมมม
❌ ผู้รับเงินหาคนอื่นมารับรายได้แทน
❌ หรือ หักเป็นค่าขนส่งแทนเพราะหัก ภาษีแค่ 1% จะได้ถูกหักน้อยกว่าค่าบริการ
.
.
.
🎯ตอบประเด็น
.
❌ ผู้รับเงินไม่ยอมให้หัก ภาษี ณ ที่จ่าย
👉 สามารถลงเป็นรายจ่ายทางบัญชีได้ ส่วนทางภาษี ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
.
❌ ผู้รับเงินหาคนอื่นมารับรายได้แทน
❌ หรือ หักเป็นค่าขนส่งแทนเพราะหัก ภาษีแค่ 1% จะได้ถูกหักน้อยกว่าค่าบริการ
👉ถ้าหากบริษัทมีการใช้หลักฐานเท็จ รายจ่ายเท็จยื่นต่อสรรพากร เจ้าหน้าที่สรรพากรจะถือว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้าม
📌 ที่สำคัญหากสรรพากรตรวจพบว่าบริษัทมีรายการใช้จ่ายต้องห้ามจำนวนมาก และทำมายาวนาน แสดงให้เห็นว่ามีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีโดยเจตนา บริษัทอาจต้องรับผิดทางอาญา มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 2 แสนบาท
♣️ ดังนั้น ข้อหาหลีกเลี่ยงภาษีจะว่าใครโดนหนักกว่ากันนั้นคงไม่ได้ เพราะทั้งบริษัทว่าจ้างและผู้รับจ้าง ต่างก็โดนปรับภาษีทั้งคู่ และเสียเงินเพิ่มอีก 1.5% มีโทษจำคุก 3 เดือนแต่ไม่เกิน 7 ปี ซึ่งนอกเหนือจากนี้บริษัทผู้ว่าจ้างยังต้องร่วมรับผิดชอบค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายของผู้รับจ้างอีกด้วย
** แนะนำให้เรียนรู้การเสียภาษีอย่างถูกต้องดีกว่าจะได้ไม่ต้อง”เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
❤️~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~ ❤️
#จ้างคนที่อยู่ในระบบ เหมือนกัน จะได้ไม่ปวดหัว 😅
❤️~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~ ❤️