Blog

322203161_973442620706577_7873381500975386573_n

ซื้อของขวัญให้พนักงานต้องรับรู้รายได้ และภาษีขายด้วยนะ รู้มั้ย ⁉️

📍 ซื้อของขวัญให้พนักงานต้องรับรู้รายได้
และภาษีขายด้วยนะ รู้มั้ย ⁉️
❤️ ภาระภาษีที่ต้องพิจารณา เมื่อซื้อของขวัญ 🎁
ของรางวัล 🛍 มาจับสลากแจกปีใหม่ให้พนักงาน
📍ปกติในงานเลี้ยงปีใหม่ของบริษัทหรือร้านค้า
มักจะต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการซื้อของต่างๆ
เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ ทองคำ นาฬิกา เครื่องคอมพิวเตอร์
เป็นต้น เพื่อนำมาให้พนักงานหรือลูกจ้างของตน
จับสลากเพื่อความรื่นเริงและเป็นขวัญกำลังใจ ❤️
ให้แก่พนักงานในการทำงาน ซึ่งในการแจกของขวัญ
นั้น บริษัทหรือร้านค้าได้กำหนดและระบุไว้ในระเบียบสวัสดิการของพนักงานอย่างชัดเจนว่า พนักงานหรือ
ลูกจ้างทุกคนมีสิทธิจับสลากทุกคน ไม่ได้เลือกปฏิบัติ
กับพนักงานหรือลูกจ้างรายใดรายหนึ่งเป็นการเฉพาะ
โดยพนักงานหรือลูกจ้างรายใดจะได้รับของขวัญ
ของรางวัลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการจับสลากในงานเลี้ยง
💢 ทั้งนี้ ในการที่บริษัทหรือร้านค้ามีการซื้อของขวัญ
ของรางวัล มาจับสลากแจกเป็นของขวัญปีใหม่ให้พนักงาน
นั้น บริษัทหรือร้านค้าจะมีภาระภาษีที่ต้องพิจารณา
4 กรณี ดังนี้
1️⃣ ภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทหรือร้านค้าที่กำหนดในระเบียบหรือข้อบังคับของบริษัทหรือร้านค้าในการซื้อของมาจับสลาก บริษัทหรือร้านค้าดังกล่าวมีสิทธินำรายจ่ายที่ได้จ่ายไปนั้นไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร
2️⃣ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การแจกรางวัลให้แก่พนักงานของบริษัทหรือร้านค้า ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงานเข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานที่ได้รับรางวัลต้องนำเงินรางวัลดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และบริษัทหรือร้านค้าผู้จ่ายมีหน้าที่ หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีตามมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย พนักงานที่ได้รับรางวัลจากการจับสลากจะต้องถูกบริษัทหรือร้านค้า (นายจ้าง) หักภาษี
เงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
4️⃣ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีบริษัทหรือร้านค้าซื้อของขวัญมาให้พนักงานจับสลากในวันขึ้นปีใหม่ โดยกำหนดระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานอย่างชัดเจน ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีซื้อ) ที่เกิดจากการซื้อของขวัญดังกล่าวย่อมเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการ
บริษัทหรือร้านค้ามีสิทธินำภาษีซื้อมาคำนวณออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทหรือร้านค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ของมูลค่าของรางวัลที่บริษัทหรือร้านค้าจัดหามา (ต้นทุนที่ซื้อมา)เพื่อแจกรางวัลให้กับพนักงาน เพราะเข้าลักษณะเป็นการขายตามมาตรา 77/1 (😎 แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า ซึ่งบริษัทหรือร้านค้าไม่จำต้องจัดทำใบกำกับภาษีสำหรับการมอบของรางวัลดังกล่าวก็ได้ ตามข้อ 2 (10) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 86/542ฯ แต่ต้องนำรายการดังกล่าวไปลงใน
รายงานภาษีขายตามข้อ 7(6) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89)ฯ ด้วย
📍 ข้อพึงสังเกต
หากบริษัทหรือร้านค้าไม่ประสงค์จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากของขวัญที่ซื้อมาจับสลาก บริษัทหรือร้านค้าต้องให้รางวัล
เป็น “เงิน” หรือ “บัตรกำนัล” ให้พนักงานหรือลูกจ้างแทนการให้ของขวัญ
❤️~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~ ❤️
🔺สรุปสั้นๆว่า เมื่อมีการมอบของรางวัลให้แก่พนักงาน
สามารถนำใบกำกับภาษีซื้อมาเคลมได้ แต่ก็ต้องเปิดใบกำกับภาษีขาย และเมื่อพนักงานได้ฟรี ก็ต้องรับรู้รายได้ตามมูลค่าจากสิ่งของที่ได้รับ🔻
แต่ถ้าไม่อยากเปิดใบกำกับภาษีขาย ให้มอบเป็นเงินแทนบริษัทไม่ต้องเสีย Vat7%แต่พนักงานก็ยังต้องรับรู้รายได้