จ่ายโบนัสอย่างไร ไม่เป็นรายจ่ายต้องห้าม?






ตามมาตรา 65 ตรี (19) รายจ่ายที่จ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้วถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เช่น
• การจ่ายโบนัสโดยแปรผันตามกำไรสุทธิ เช่น ปีไหนมีผลกำไรมาก ก็จะจ่ายมาก
• การจ่ายโบนัสตามกำไรแต่ละแผนก
• การจ่ายโบนัสตามกำไรแต่ละไตรมาส
การจ่าย “โบนัส” ที่ถือเป็น “รายจ่ายได้”

• การจ่ายโบนัสตามความขยัน โดยพิจารณาและประเมินผลการทำงานของพนักงาน
• การจ่ายโบนัสจากผลการงานการขาย และการทำประโยชน์ให้แก่กิจการ เช่น อัตราร้อยละตามยอดขายเป็นลักษณะขั้นบันไดตามยอดขายที่สามารถทำได้ตามเป้ายอดขายแต่ละขั้น
• การจ่ายโบนัสเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ แม้กิจการขาดทุนก็จ่าย
•
ดังนั้นผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในการกำหนดเกณฑ์การจ่าย เพื่อให้สามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ โดยไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม


Ex.1 บริษัทฯ A มีกำไร 10 ล้านบาท จ่ายโบนัสพนักงาน 8% โดยคำนวนจากผลกำไร เป็นจำนวนเงิน 800,000บาท (อัตราภาษี 20%)

กำไรทางบัญชี 10,000,000
บวกกลับ โบนัส 800,000
กำไรทางภาษี 10,800,000
เสียภาษี 2,160,000.-บาท


บริษัทฯ B มีรายได้ 100ล้านบาท มีกำไร 10 ล้านบาท จ่ายโบนัสพนักงาน 0.80% โดยคำนวนจากรายได้ประจำปี เป็นจำนวนเงิน 800,000บาท (อัตราภาษี 20%)

กำไรทางบัญชี 10,000,000
บวกกลับโบนัส –
กำไรทางภาษี 10,000,000
เสียภาษี 2,000,0000



นี่แหละ ที่เค้าเรียกว่า ทำไม?บริษัทจึงต้องมีที่ปรึกษาภาษี 
เพราะค่าความไม่รู้ แพงกว่าค่าความไม่รู้เสมอ




บันทึกบัญชี
31/12/65
Dr.เงินโบนัส 800,000
Cr.โบนัสค้างจ่าย 800,000
กิจการคำนวณเงินโบนัส
31/01/66
Dr.โบนัสค้างจ่าย 800,000
Cr.เงินโอนธนาคาร 800,000
** เงินโบนัสถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1)
หากมีพนักงานคนใดถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี
อย่าลืมหัก ณ ที่จ่าย ไว้ด้วยนะคะ