กำไรน้อยยยมาก แต่ ทำไมเสียภาษีเยอะจัง




โดยส่งค่าใช้จ่ายทุกอย่างมาให้บัญชีลงบัญชี รวมถึงรายจ่ายส่วนตัวเอามาเนียนๆลงให้พี่หน่อย ประมาณนั้น ไม่ว่าจะเป็นของใช้ส่วนตัว ของเล่นลูกเอย เครื่องออกกำลังกาย ฮืมมมม



นี่แหละค่ะ!!! คือ เรื่องเข้าใจผิดที่เป็นปัญหาอย่างมากในการจัดการภาษีธุรกิจ เพราะว่าการเสียภาษีนั้นไม่ได้เกี่ยวกับ “กำไรหรือขาดทุนทางบัญชี” ที่ธุรกิจได้ทำมา แต่มันเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า “กำไรขาดทุนสุทธิทางภาษี” ต่างหาก
นักบัญชี การจะทำบัญชีเค้าก็ต้องวิเคราะห์รายการค้าก่อนว่า



นักบัญชี ทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี
ผู้ประกอบการ เสียภาษีจากกำไรทางภาษี
ไม่ใช่กำไรทางบัญชีนะคะ

แบบอย่างง่ายกันนะคะ

“กำไร/ ขาดทุนทางบัญชี” หมายถึง กำไร/ขาดทุนที่เป็นตัวเลขจริงๆตัวเลขการเงินที่เกิดขึ้นในบริษัท เพื่อให้เห็นผลประกอบการของบริษัทที่แท้จริงว่าได้กำไรหรือขาดทุนมากน้อยแค่ไหน


“กำไร/ขาดทุน ทางภาษี” คือฐานที่ใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยการปรับปรุงรายการดังต่อไปนี้ เพื่อเสียภาษีตามกฎหมาย
1.รายได้ที่ถือว่าเป็นรายได้ – แต่ในแง่ของภาษีถือว่านี่คือรายได้ เช่น ดอกเบี้ยที่มาจากการกู้ยืมเงินของลูกหนี้ เป็นต้น
2.รายได้ที่ได้รับการยกเว้น – สำหรับกำไรทางบัญชีนั้นถือว่าเป็นรายได้ แต่ในทางภาษีไม่ถือว่าเป็นรายได้ เช่น ปี 64 ที่รัฐอุดหนุนให้กับผู้ประกอบการเป็นต้น
3.รายจ่ายต้องห้าม – บางรายการที่ถูกบันทึกว่าเป็นรายจ่ายในบัญชีบริษัท แต่ในทางภาษีไม่ถือว่าเป็นรายจ่าย เช่น รายจ่ายส่วนตัวกรรมการ เป็นต้น
4.รายจ่ายที่สามารถหักมากขึ้น – เป็นรายการที่บริษัทไม่บันทึกเอาไว้ว่าเป็นรายจ่าย แต่ในทางภาษีถือว่าเป็นรายจ่าย เช่น รายจ่ายที่มาจากการส่งพนักงานไปอบรม เป็นต้น

รายได้ทั้งสิ้น
หัก ต้นทุนขาย/ต้นทุนบริการ
กำไรขั้นต้น
หัก ค่าใช้จ่ายในการขาย
หัก ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
กำไร/ขาดทุนสุทธิทางบัญชี
บวกกลับ รายจ่ายต้องห้าม
รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ทางภาษี
หักออก รายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น
รายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้น
กำไรขาดทุนก่อนหักเงินบริจาค
หัก เงินบริจาค
กําไร(ขาดทุน)สุทธิทางภาษี
ตัวอย่างกระดาษทำการเพื่อเสียภาษี



รวมถึงการหลบเลี่ยงรายได้ของบริษัท ก็ไม่พ้นอยู่ดีเพราะอาจจะต้องไปกังวลภาษีย้อนหลังในนามบุคคลธรรมดาอยู่ดี


