กรรมการอยากได้รถราคาโดยประมาณ 3-4ล้านบาท ถ้าเราเป็นนักบัญชีจะแนะนำให้ซื้อในนามบุคคลหรือบริษัทดี?
ตอบประเด็น—>
กรรมการอยากได้รถสักคันราคาโดยประมาณ 3-4ล้านบาท ถ้าเราเป็นนักบัญชีจะแนะนำให้ซื้อในนามบุคคลหรือบริษัทดี 



ถ้าเป็นครูจะซื้อในนามบุคคล ด้วยเหตุผลที่ว่า

เช่นรถคันนี้ 5 ปีอาจจะขายได้ 2 ล้าน ทำให้ต้องยื่น Vat ขายอยู่ที่ 140,000.- (ขาดทุนละ140,000)


เผื่อใครยังไม่เห็นโพสนี้ — ขายรถวุ่นวายจริงๆ
ถ้ายังผ่อนไม่หมด ซื้อสดสบายไป



อยู่ที่เดือนละ 100,000 บาท ครูจะแบ่งใหม่
เป็นเงินเดือน 40(1) – 65,000
เป็นค่าเช่ารถ 40(5) – 35,000
แค่แบ่งแต่เงินได้รับเท่าเดิม คนที่เข้าใจภาษีบุคคลธรรมดาก็จะรู้ว่า 40(1) หัก คชจ ได้แค่ 100,000
พอแบ่งเป็น 40(5) หัก คชจ ได้ 30%
นั่นหมายความว่า 35,000 x12= 420,000×30%
ได้ คชจเพิ่ม 126,000 คิดจากฐานภาษี 20%
ประหยัดภาษีได้อีก 25,200.-แหนะ
ถ้ารับเป็น 40(1) — ทั้งก้อนก็ไม่ได้ประหยัด
ตรงนี่เลยนะ




เราก็อะให้บริษัทเช่า เดือนละ 35,000.-
(ควรคิดให้เหมาะสมกับค่างวดที่ผ่อน จะได้เอาเงินตรงนี้ไปจ่าย 555)
ส่วนคชจ ก็ยังสามารถให้บริษัทรับผิดชอบไป

1.สัญญาเช่า
2.รายงานการประชุม
3.ทำใบสำคัญจ่าย+หนังสือรับรอง 50ทวิ+สลิปโอนเงิน+สำเนาบัตร ปชช กรรมการ ส่งใบบัญชีลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ในส่วนของค่าเช่า
4.ส่วนค่าใช้จ่าย ค่าน้ำมัน ให้ระบุทะเบียนลงในใบเสร็จ ด้วยนะคะ




จริงๆต้องรู้ก่อนว่า ถ้าเราทำเช่าซื้อปกติ ก็จะหักค่าเสื่อมราคาได้เพียง 1,000,000 แต่สิ่งที่หลายคนลืมคิดและไม่มีใครพูดถึงนั้นก็คือดอกเบี้ย
ราคาทุนของรถทางบัญชี : ราคาเงินสด
ราคาทุน ของรถทางภาษี : ราคาเงินสด+ดอกเบี้ย
ภาพจำหลายคนคือค่าเสื่อม แต่ไม่รู้ว่า ราคาทุนทางภาษี ต้องบวกดอกเบี้ยเข้าไปด้วย
ถ้าเราซื้อรถในนามบริษัทแล้วทำสัญญาเช่าซื้อปกติ นอกจากจะได้ค่าเสื่อมราคาเพียง 1 ล้านแล้วดอกเบี้ยจ่ายเหล่านั้นถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
ใครทำผิดอยู่หากสรรพากรตรวจพบจะโดนบวกกับทางภาษีย้อนหลังแน่นอน




เพื่อจะได้เป็นค่าเช่ารถ แต่อย่าลืมนะ..ว่าเราทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี
ถ้าเราทำสัญญาเช่าลิสซิ่งแล้วเข้าเงื่อนไขเหล่านี้
ต้องบันทึก รถเป็นสินทรัพย์ของบริษัทแล้วคิดค่าเสื่อมตามปกติ
ส่วนในทางภาษีต้องมาคำนวณว่าปีนั้น
บันทึกค่าเสื่อมและดอกเบี้ยจ่ายไปเท่าไหร่
เอามาเทียบกับค่างวดรถที่จ่ายจริงหรือไม่เกิน 36,000
ฝั่งบัญชีมากกว่า : บวกกลับเป็นรายจ่ายต้องห้าม
ฝั่งบัญชีน้อยกว่า : หักออกเป็นรายจ่ายได้เพิ่ม



1.สัญญาเช่าโอนความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาเช่า
2) ผู้เช่ามีสิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์ด้วยราคาที่ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม ณ วันที่สิทธิเลือกซื้อเกิดขึ้น ด้วยจำนวนที่มากเพียงพอที่จะทำให้เกิดความแน่ใจอย่างสมเหตุสมผล ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่าว่าผู้เช่าจะใช้สิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์นั้น
3) ระยะเวลาของสัญญาเช่าครอบคลุมอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสินทรัพย์ แม้ว่าจะไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์เกิดขึ้น
4) ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่า มูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายมีจำนวนเท่ากับหรือเกือบเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า
5)สินทรัพย์ที่เช่ามีลักษณะเฉพาะเจาะจงกระทั่งมีผู้เช่าเพียงผู้เดียวที่สามารถใช้สินทรัพย์
นั้นโดยไม่จำเป็นต้องนำสินทรัพย์ดังกล่าวมดัดแปลงที่สำคัญ
อยากอ่านยาวกว่านี้ แปะไว้ให้

ทำเป็นลิสซิ่งไหนว่ารอด แถมเจอดอกเบี้ยแพง
กว่าปกติไปอีก โดนไปอีก


เอาว่า ครูสบายใจที่จะซื้อในนามบุคคลมากกว่า
ส่วนที่เหลือ นักบัญชีต้องวางแผนให้กับผู้บริหารและเลือกเอาที่สบายใจนะคะ 555